|
|
|
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ สามารถจำแนกได้ดังนี้ |

 |
อาชีพเกษตรกรรม |
คิดเป็นร้อยละ 85 |

 |
อาชีพรับจ้าง |
คิดเป็นร้อยละ 10 |

 |
อาชีพอื่นๆ (ค้าขายและทอผ้าตีนจก) |
คิดเป็นร้อยละ 5 |
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่ราษฎรเพาะปลูกมี ข้าวเหนียว ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ผักกาดเขียวปลี แตงกวา มะระ มะเขือเทศ |
|
|
|
|
|
ศาสนสถานที่อยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านปิน มีดังนี้ |
1. |
วัดพทุธโพธิ์บุปผาราม |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
2. |
ศาลเจ้าป้องเฒ่ากรุง |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
3. |
โบสถ์คริสตจักร(บ้านหลิ่ง) |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
4. |
ฌาปนสถานนาเมี่ยง |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
5. |
ฌาปนสถานวัดดงลาน |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
6. |
สุสานวัดดงลาน |
จำนวน |
1 |
แห่ง |
|
|
|
ขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรม |
|
|
 |
|
|
1. ประเพณี |
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลจะยึดถือ
ตามประเพณีดั้งเดิม
ซึ่งเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนไทย เช่น ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีการบวชนาค
(ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมเรียกว่า "ปอย") ประเพณีการจัดงานศพ ฯลฯ และที่แตกต่าง
จากประเพณีชาวไทยในภาคอื่น ๆ
อย่างเห็นชัดเจน เช่น ประเพณีบูชาท้าวทั้งสี่
ประเพณีเอาขวัญ (เรียกขวัญหรือบายศรีสู่ขวัญ) |
|
|
ประเพณีส่งเคราะห์ ประเพณีสืบชะตา
ส่วนประเพณีที่เกี่ยวกับศาสนา เช่น ประเพณีตานก๋วยสลาก ประเพณีตานขันข้าว
(ถวายอาหารพระสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับ) ประเพณีแห่ครัวตานเข้าวัด
ประเพณีลอยกระทง (งานยี่เป็ง) ประเพณีสงกรานต์ "ปี๋ใหม่เมือง" เป็นต้น |
2. ศิลปวัฒนธรรม |

 |
ศิลปะ จะมีรูปแบบเป็นศิลปะของชาวล้านนาภาคเหนือโดยทั่วไป
เช่น ด้านดนตรี จะเป็นดนตรีพื้นบ้านประกอบไปด้วย สะล้อ ซอ ซึง ปี่ก้อย แน
และกลองอึด ส่วนศิลปะการฟ้อนรำ มีฟ้อนรำ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนกลองอึด ฟ้อนเทียน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีศิลปหัตถกรรม เช่น การแกะสลักไม้สัก บานประตูโบสถ์
ฉลุแผ่นไม้เชิงชาย แกะสลักเครื่องเรือน ชุดรับแขก เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งบ้านเรือน |

 |
วัฒนธรรม ในด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ประชาชนส่วนใหญ่
จะมีบริโภคข้าวเหนียว เป็นอาหารหลัก รับประทานอาหารพื้นเมืองแบบชาวเหนือทั่วไป
เช่น แกงแค แกงอ่อม แกงฮังเล แกงคั่ว ลาบ ส้า หลู้ ฯลฯ อาหารที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่น
อีกอย่างที่ไม่เหมือนใครที่นับวันจะสูญหายไปก็คือ "แคบหมูใหญ่" |

 |
วัฒนธรรมในการแต่งกาย ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงก็คือ การนุ่งผ้าซิ่นตีนจก
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอลอง ส่วนการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างก็ คือ
การนำเอาผ้าหม้อห้อม (ผ้าทอพื้นเมืองย้อมด้วยต้นคราม) มาสวมใส่โดยประยุกต์ตามสมัยนิยม
วัฒนธรรมที่ยังพอมีให้เห็นอีกอย่างก็คือ วัฒนธรรมการซอ
การจ้อย การเล่าค่าว |
|
3. ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ |

 |
ประเพณีสลากภัต |
เดือนตุลาคม |

 |
ประเพณีสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมือง) |
เดือนเมษายน |

 |
ประเพณีลอยกระทง |
เดือนพฤศจิกายน |

 |
ประเพณีบรรพชาอุปสมบท |
เดือนมีนาคม-พฤษภาคม |

 |
ประเพณีวันเข้าพรรษา |
เดือนกรกฏาคม |

 |
ประเพณีวันออกพรรษา |
เดือนตุลาคม |

 |
ประเพณีวันวิสาขบูชา |
เดือนพฤษภาคม |

 |
ประเพณีวันมาฆบูชา |
เดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านปินมีดังนี้ แยกเป็น |

 |
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาแพร่เขต 2 ระดับประถมศึกษา (โรงเรียนบ้านปิน (ปินประชาราษฎร์)) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 |
|
|
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลตำบลบ้านปิน |
|
|
จำนวน |
1 |
แห่ง |
|
|
|
|
|

 |
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิน |
|
|
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
คลินิกเอกชน |
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
สถานที่ขายยาชุมชน(ศูนย์ อสม.) |
จำนวน |
1 |
แห่ง |

 |
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 |
|
|
|
|
|